คดีมรดก
ป.พ.พ.มาตรา
๑๗๕๔
- ความหมายของคดีมรดก;
หมายถึง คดีพิพาทกันระหว่างทายาทที่มีสิทธิในทรัพย์มรดกด้วยกัน
ด้วยเรื่องสิทธิเรียกร้องส่วนแบ่งทรัพย์มรดก(ฎีกาที่ ๓๓๑๖/๒๕๔๒)
- แนวคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นคดีมรดก; ทายาทฟ้องเรียกร้องทรัพย์มรดกจากทายาทที่ครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งปันกัน(ฎีกาที่
๑๑๘๐/๒๕๖๓), ที่ดินโฉนดเลขที่ ๒๔๕๐๓๗ ซึ่งเป็นที่ดินพิพาทแปลงที่ ๒
เป็นที่ดินที่แบ่งแยกออกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ ๖๒๗๘
ไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองที่ดินพิพาทแปลงดังกล่าวด้วย
ซึ่งจะทำให้โจทก์ทั้งห้าสามารถฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
โดยไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๗๕๔
การที่โจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นทายาทของ ผ.
ฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกที่ดินแปลงดังกล่าวจากจำเลยซึ่งเป็นทายาทด้วยกัน
จึงต้องดำเนินคดีภายใน ๑ ปี หรือ ๑๐ ปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย เมื่อ ผ.
เจ้ามรดกถึงแก่ความตายในวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ โจทก์ทั้งห้าฟ้องคดีนี้วันที่
๓ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ซึ่งเกินกว่า ๑๐ ปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย
คดีโจทก์ทั้งห้าสำหรับการฟ้องขอแบ่งมรดกที่ดินโฉนดเลขที่ ๒๔๕๐๓๗
จึงขาดอายุความ(ฎีกาที่ ๓๔๐๒/๒๕๖๖),โจทก์ฟ้องเพื่อแสดงให้เห็นว่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไม่ได้ตกเป็นของจำเลยแต่ผู้เดียว
แต่เป็นทรัพย์มรดกของ ส. ที่จะต้องแบ่งให้แก่ทายาท
เท่ากับโจทก์ฟ้องคดีมรดก(ฎีกาที่ ๘๙๐๔/๒๕๕๗), เมื่อโจทก์ไม่เคยครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งกันระหว่างทายาท
จึงมิใช่กรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๗๔๘
ที่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้แม้พ้นกำหนดอายุความมรดก
การที่โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อพ้นกำหนด ๑๐ ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย ย่อมต้องห้ามมิให้ฟ้องตาม
ป.พ.พ. มาตรา ๑๗๕๔ วรรคท้าย(ฎีกาที่ ๒๒๗๘๘/๒๕๕๕), โจทก์ฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิได้รับมรดกของ
ส. ในส่วนที่ตกทอดได้แก่ ค. บิดาของโจทก์ และของ ห. แทนที่ ค.
บิดาของโจทก์ซึ่งถึงแก่ความตายไปก่อน ห. เจ้ามรดก จำเลยที่ ๑
ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ห. จดทะเบียนโอนที่ดินทรัพย์มรดกของ ห. ให้จำเลยที่ ๑
ถึงที่ ๓ จากนั้นจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ นำไปจดทะเบียนจำนองไว้กับจำเลยที่ ๔
ขอให้เพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินทรัพย์มรดกของ ส. และของ ห.
ระหว่างจำเลยทั้งสี่ และให้จำเลยที่ ๑ ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ห.
จดทะเบียนโอนที่ดินมรดกของ ห. เฉพาะส่วนให้แก่โจทก์
กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ส.
และของ ห. ให้แก่โจทก์ อันถือได้ว่าเป็นคดีมรดก
หาใช่เป็นการฟ้องเรียกให้ผู้จัดการมรดกจัดการแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทของเจ้ามรดกตามหน้าที่ผู้จัดการมรดกแต่อย่างใด(ฎีกาที่
๓๘๔/๒๕๖๔), จำเลยที่ ๒
เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทเรื่อยมาทั้งก่อนและภายหลัง ก. ถึงแก่ความตาย
โดยไม่ปรากฏว่าภายหลัง ก. ถึงแก่ความตาย ทายาทอื่นของ ก.
ได้เข้าไปครอบครองที่ดินพิพาทด้วยแต่อย่างใด ทั้งยังได้ความว่า
โจทก์ทั้งหกไม่เคยโต้แย้งการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทของจำเลยที่ ๒
ตลอดระยะเวลาตั้งแต่ ก. ถึงแก่ความตายจนมีการฟ้องคดีนี้
การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยที่ ๒ ในส่วนที่เป็นมรดกของ ก.
จึงมิใช่การครอบครองแทนทายาทอื่นหากแต่เป็นการครอบครองเพื่อตน(ฎีกาที่
๔๒๖๘/๒๕๖๒), คดีมรดกมีอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๗๕๔
จำเลยที่ ๒ และที่ ๓
มิใช่ผู้จัดการมรดกแต่เป็นทายาทและถูกโจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกย่อมเป็นคดีมรดก
อันมีอายุความตามมาตรา ๑๗๕๔(ฎีกาที่ ๑๐๖๙๒/๒๕๕๘), โจทก์ฟ้องเพิกถอนนิติกรรมระหว่าง
อ. กับจำเลย โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า
โจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ก. และ อ.
ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสของบิดามารดาโจทก์ เมื่อ ก.
บิดาของโจทก์ถึงแก่ความตายที่ดินพิพาทจึงเป็นมรดกตกทอดมายังโจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมของ
ก. ด้วย แต่ อ. มารดาโจทก์กลับจดทะเบียนยกที่ดินทั้งแปลงให้แก่จำเลยโดยเสน่หา
โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอม
จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของ ก. และ อ.
จึงไม่มีอำนาจฟ้องและคดีโจทก์ขาดอายุความมรดกแล้ว คดีจึงมีประเด็นพิพาทว่า
โจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ก.
และเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกในที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ ก. หรือไม่
จึงเป็นการฟ้องคดีมรดก(ฎีกาที่ ๑๔๑๗๔/๒๕๕๗),
0 ความคิดเห็น