ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 276 ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ
โดยใช้กำลังประทุษร้าย
โดยผู้อื่นนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้ผู้อื่นนั้นเข้าใจผิดว่าตน
เป็นบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสี่แสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง
ได้กระทำโดยทำให้ผู้ถูกกระทำเข้าใจว่าผู้กระทำมีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่เจ็ดปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
ถึงสี่แสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง
ได้กระทำโดยมีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้อาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงหรือกระทำกับชายใน
ลักษณะเดียวกัน ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี
และปรับตั้งแต่สามแสนบาทถึงสี่แสนบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง
เป็นการกระทำความผิดระหว่างคู่สมรส
และคู่สมรสนั้นยังประสงค์จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา
ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงใด ก็ได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติแทนการลงโทษก็ได้
ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกและคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ประสงค์จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาต่อไป
และประสงค์จะ หย่า ให้คู่สมรสฝ่ายนั้นแจ้งให้ศาลทราบ
และให้ศาลแจ้งพนักงานอัยการให้ดำเนินการฟ้องหย่าให้
มาตรา 277 ผู้ใดกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีของตน
โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี
และปรับตั้งแต่ หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง
เป็นการกระทำแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปี ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่เจ็ดปีถึงยี่สิบปี
และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนสี่หมื่นบาทถึงสี่แสนบาท หรือจำคุกตลอด ชีวิต
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
ได้กระทำโดยทำให้ผู้ถูกกระทำเข้าใจว่าผู้กระทำมีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สอง แสนบาทถึงสีแสนบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
ได้กระทำโดยมีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้อาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงหรือ
กระทำกับเด็กชายในลักษณะเดียวกัน ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต
ความผิดตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง
ถ้าเป็นการกระทำโดยบุคคลอายุไม่เกินสิบแปดปีกระทำต่อเด็กซึ่งมีอายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปี
โดยเด็กนั้นยินยอม ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดี
เยาวชนและครอบครัวจะพิจารณาให้มีการคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กผู้ถูกกระทำหรือผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็กแทนการลงโทษก็ได้
ในการพิจารณาของศาล ให้คำนึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม
สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ สิ่งแวดล้อมของผู้กระทำความผิดและเด็กผู้ถูกกระทำ
ความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำความผิดกับเด็กผู้ถูกกระทำ
หรือเหตุอื่นอันควรเพื่อประโยชน์ของเด็กผู้ถูกกระทำด้วย
ในกรณีที่ได้มีการดำเนินการคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กผู้ถูกกระทำหรือผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็กแล้ว
ผู้กระทำความผิดไม่ต้องรับโทษ แต่ถ้าการคุ้มครอง สวัสดิภาพดังกล่าวไม่สำเร็จ
ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้
ในการพิจารณาของศาล ให้คำนึงถึงเหตุตามวรรคห้าด้วย
มาตรา 281 ความผิดตามมาตราดังต่อไปนี้ เป็นความผิดอันยอมความได้
(๑)
มาตรา 276 วรรคหนึ่ง และมาตรา 278 วรรคสอง ซึ่งเป็นการกระทำระหว่างคู่สมรส ถ้ามิได้เกิดต่อหน้าธารกำนัล หรือไม่เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำรับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย
(๒) มาตรา 278 วรรคหนึ่ง
ถ้ามิได้เกิดต่อหน้าธารกำนัล
ไม่เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำรับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย
หรือมิได้เป็นการกระทำแก่บุคคลดังระบุไว้ในมาตรา
285 และมาตรา 285/2
หมายเหตุ
1. ความผิดฐานกระทำชำเราผู้อื่น เป็นความผิดยอมความไม่ได้
เว้นแต่เป็นการกระทำความผิดระหว่างคู่สมรส และมิได้เกิดต่อหน้าธารกำนัล หรือไม่เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำรับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย(มาตรา 281 (1))
2. คำว่า “ซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีของตน”
หมายถึง การเป็นภริยาหรือสามีกันโดยชอบด้วยกฎหมาย(ฎีกาที่ 2580/2563)
0 ความคิดเห็น