มาตรา 19 ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) เป็นการไม่แน่ว่าการกระทำผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่
(2) เมื่อความผิดส่วนหนึ่งกระทำในท้องที่หนึ่ง
แต่อีกส่วนหนึ่งในอีกท้องที่หนึ่ง
(3) เมื่อความผิดนั้นเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง
ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป
(4) เมื่อเป็นความผิดซึ่งมีหลายกรรม
กระทำลงในท้องที่ต่าง ๆ กัน
(5) เมื่อความผิดเกิดขึ้นขณะผู้ต้องหากำลังเดินทาง
(6) เมื่อความผิดเกิดขึ้นขณะผู้เสียหายกำลังเดินทาง
พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้
ในกรณีข้างต้นพนักงานสอบสวนต่อไปนี้
เป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวน
(ก)
ถ้าจับผู้ต้องหาได้แล้ว คือพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่จับได้อยู่ในเขตอำนาจ
(ข)
ถ้าจับผู้ต้องหายังไม่ได้
คือพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการกระทำผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจ
หมายเหตุ
พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ
หมายถึง
พนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจสรุปสำนวนและทำความเห็นสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องผู้ต้องหาส่งพนักงานอัยการพร้อมด้วยสำนวนความ
พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ
พิจารณาจาก
1. ความผิดเกิดขึ้นในท้องที่เดียว
หรือ ในหลายท้องที่
2. ความผิดเกิดขึ้นในท้องที่เดียวดูมาตรา
18 หากความผิดเกิดขึ้นในหลายท้องที่ดูมาตรา 19
ข้อสังเกต
1. ท้องที่ที่จับผู้ต้องหาได้ต้องเป็นท้องที่เดียวกันกับตามมาตรา
19 (1) – (6)
2. ในกรณีจับผู้ต้องหาได้
แต่ปรากฏว่าได้มีการร้องทุกข์ไว้อีกท้องที่หนึ่ง ท้องที่ที่รับคำร้องทุกข์ไว้
ถือว่าเป็นท้องที่ที่พบการกระทำความผิดก่อน และเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ
3. ในท้องที่ที่พบการกระทำความผิดก่อน
ได้เริ่มทำการสอบสวนแล้วตั้งแต่จับจำเลยยังไม่ได้
ต่อมาจับจำเลยได้ในอีกท้องที่หนึ่งที่เกี่ยวข้องกัน พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคือ
พนักงานสอบสวนที่พบการกระทำความผิดก่อน(ฎีกาที่ 4512/2530)
0 ความคิดเห็น