ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 16 การนับอายุของบุคคล ให้เริ่มนับแต่วันเกิด
ในกรณีที่รู้ว่าเกิดในเดือนใดแต่ไม่รู้วันเกิด
ให้นับวันที่หนึ่งแห่งเดือนนั้นเป็นวันเกิด
แต่ถ้าพ้นวิสัยที่จะหยั่งรู้เดือนและวันเกิดของบุคคลใด
ให้นับอายุบุคคลนั้นตั้งแต่วันต้นปีปฏิทิน ซึ่งเป็นปีที่บุคคลนั้นเกิด
หมายเหตุ
ฎีกาที่ 1245/2559
ป.พ.พ. บรรพ 1 (เดิม)
ไม่ได้บัญญัติวิธีการนับอายุของบุคคลไว้เป็นการเฉพาะ
จึงต้องนับอายุตามเกณฑ์ในมาตรา 158 (เดิม)
คือไม่นับวันแรกที่เป็นวันเกิดรวมเข้าด้วย ซึ่งคณะรัฐมนตรีก็มีมติเมื่อวันที่ 13
กันยายน 2509 กำหนดวิธีนับอายุบุคคลเป็นไปตาม
ป.พ.พ. ที่บังคับใช้ในขณะนั้นและจำเลยที่ 1 ปฏิบัติตาม ต่อมา
พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่
พ.ศ.2535 มาตรา 3 ให้แก้ไขเพิ่มเติม
ป.พ.พ. บรรพ 1 และบรรพ 3 โดย (3)
ให้ใช้บทบัญญัติท้าย พ.ร.บ.นี้เป็นบรรพ 1 แห่ง
ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน
2535 ซึ่งมาตรา 16 (ใหม่)
บัญญัติวิธีการนับอายุของบุคคลไว้เป็นการเฉพาะว่า “การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิด”
คือต้องนับวันเกิดเป็น 1 วัน เต็ม
โจทก์เกิดวันที่ 1 ตุลาคม 2493 ต้องนับอายุโจทก์นับแต่วันเกิดคือวันที่
1 ตุลาคม 2493 เป็น 1 วัน เต็ม โจทก์จึงมีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ เมื่อวันที่ 30
กันยายน 2553 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/5 (ใหม่)
ฎีกาที่ 7841/2552
ป.พ.พ. มาตรา 16 บัญญัติว่า
การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิด ผู้เสียหายที่ 1 เกิดเมื่อวันที่
5 มีนาคม 2532 จึงต้องนับอายุแต่วันเกิดคือนับแต่วันที่
5 มีนาคม 2532 เป็นหนึ่งวันเต็ม
ผู้เสียหายที่ 1 จึงมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์
เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2547 ตามนัยแห่ง
ป.พ.พ. มาตรา 193/5 คดีได้ความว่า เหตุเกิดวันที่ 5 มีนาคม 2547 เวลาประมาณ 2 นาฬิกา
ดังนั้นขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 จึงมีอายุเกินกว่า 15
ปีบริบูรณ์แล้ว กรณีจึงไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277
และ 317
0 ความคิดเห็น