ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 272
ถ้าศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างใดซึ่งต้องมีการบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาก็ให้ศาลออกคำบังคับทันทีที่ได้อ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น
และให้ถือว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ทราบคำบังคับแล้วในวันนั้น
ในคดีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาขาดนัดยื่นคำให้การหรือขาดนัดพิจารณา
และลูกหนี้ตามคำพิพากษา ทนายความ
หรือผู้รับมอบฉันทะจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งดังกล่าวให้มาฟังคำพิพากษาหรือคำสั่ง มิได้อยู่ในศาลในเวลาที่ออกคำบังคับ
ให้บังคับตามมาตรา 199 ทวิ หรือมาตรา 207 แล้วแต่กรณี
มาตรา 273
ถ้าในคำบังคับได้กำหนดให้ใช้เงิน หรือให้ส่งทรัพย์สิน หรือให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใด
ๆ ให้ศาลระบุไว้ในคำบังคับนั้นโดยชัดแจ้ง ซึ่งระยะเวลาและเงื่อนไขอื่น ๆ อันจะต้องใช้เงิน
ส่งทรัพย์สิน กระทำการ หรืองดเว้นกระทำการใด ๆ นั้น
แต่ถ้าเป็นคดีมโนสาเร่ศาลไม่จำต้องให้เวลาแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเกินกว่าสิบห้าวันในอันที่จะปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น
ในคดีที่มีเหตุตามมาตรา
272 วรรคสอง
ให้ศาลให้เวลาแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาในอันที่จะปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
ระยะเวลาตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง
ให้เริ่มนับแต่วันที่ถือว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ทราบคำบังคับแล้ว
เว้นแต่ศาลจะได้กำหนดไว้โดยชัดแจ้งในเวลาที่ออกคำบังคับหรือในภายหลังว่าให้นับแต่วันใดวันหนึ่งตามที่ศาลเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ในระหว่างที่ระยะเวลาตามคำบังคับยังไม่ครบกำหนดหรือการปฏิบัติตามวิธีการหรือเงื่อนไขในคำบังคับยังไม่เสร็จสิ้น
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอาจยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลให้มีคำสั่งกำหนดวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของตนก็ได้
ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดตามวรรคสี่แล้ว
คำสั่งนั้นยังคงมีผลต่อไปเท่าที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล
แต่ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามิได้ขอบังคับคดีภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำบังคับเพื่อให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง
ให้ถือว่าคำสั่งนั้นเป็นอันยกเลิกเมื่อสิ้นระยะเวลาเช่นว่านั้น
หมายเหตุ
1.
การออกคำบังคับ
ศาลต้องออกคำบังคับทันทีที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่ง(มาตรา
272 วรรคหนึ่ง); ในวันที่อ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษา ศาลจะต้องออกคำบังคับทันที
2.
กรณีถือว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาทราบคำบังคับแล้ว
ไม่ต้องส่งคำบังคับแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อทราบคำบังคับอีก(มาตรา 272
วรรคหนึ่ง); (1.) ลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ให้การต่อสู้คดีแม้ไม่ได้มาฟังคำพิพากษา
ก็ถือว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาทราบคำบังคับแล้ว หรือ (2.)
ลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ขาดนัดยื่นคำให้การหรือขาดนัดพิจารณาแต่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา
ทนายความหรือผู้รับมอบฉันทะอยู่ในศาลในเวลาที่ออกคำบังคับถือว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาทราบคำบังคับแล้ว;
ทนายจำเลยทราบวันนัดฟังคำพิพากษาแล้วในวันนัดได้มอบฉันทะให้เสมียนทนายมารับทราบคำสั่งศาล
เมื่อศาลได้อ่านคำพิพากษาให้ฟังและบันทึกในรายงานกระบวนพิจารณา ว่าให้บังคับคดีภายใน15
วัน และเสมียนทนายได้ลงชื่อในรายงานฯ
นั้นแล้วถือว่าทนายจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยได้ทราบคำพิพากษาและคำบังคับนั้นโดยชอบแล้ว
จึงถือได้ว่าจำเลยก็ได้ทราบคำพิพากษาและคำบังคับนั้นด้วย(ฎีกาที่ 2772/2524)
3.
กรณีลูกหนี้ตามคำพิพากษาขาดนัดยื่นคำให้การหรือขาดนัดพิจารณา
ถือว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษายังไม่ทราบคำบังคับ
ศาลต้องส่งคำบังคับแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อให้ทราบคำบังคับ(มาตรา 272 วรรคสอง); ในกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาขาดนัดยื่นคำให้การหรือขาดนัดพิจารณา
ให้บังคับตามมาตรา 199 ทวิหรือมาตรา 207 แล้วแต่กรณี และลูกหนี้ฯ
ทนายความหรือผู้รับมอบฉันทะมิได้อยู่ในศาลในเวลาที่ออกคำบังคับ ศาลต้องส่งคำบังคับให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาด้วย
และการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งแก่ลูกหนี้ที่ขาดนัดยื่นคำให้การหรือขาดนัดพิจารณานั้นให้บังคับตามมาตรา
273 มาตรา 289(เรื่องการงดการบังคับคดี) และมาตรา 338(
การจ่ายเงินในคดีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาขาดนัด) ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษานำส่งหรือเสียค่าใช้จ่ายในการส่งได้ตามมาตรา
199 ประกอบมาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่
4.
การเริ่มนับกำหนดระยะเวลาในคำบังคับ(มาตรา
273 วรรคสาม); นับแต่วันที่ถือว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ทราบคำบังคับ
คือในวันที่อ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่ง จะต้องเริ่มนับหนึ่งในวันรุ่งขึ้น;
คำว่า "ลักษณะนี้" ใน ป.พ.พ. มาตรา 193/1 ว่าด้วย การนับระยะเวลาคือลักษณะ 5 ของบรรพ 1
ซึ่งว่าด้วยหลักทั่วไป มิได้ใช้บังคับเฉพาะเรื่องนิติกรรม
แต่ใช้บังคับในการออกหมายบังคับคดีด้วย แม้ ป.วิ.พ. มาตรา 273 วรรคสาม
จะได้บัญญัติว่า ระยะเวลาในคำบังคับให้เริ่มนับแต่วันที่ได้ส่งคำบังคับหรือข้อความท้ายคำบังคับที่ระบุให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน
7 วัน นับแต่วันได้รับคำบังคับ
ก็ไม่อาจถือว่าเป็นข้อยกเว้นที่จะต้องนับระยะเวลาในวันแรกรวมเข้าด้วย
ต้องนับระยะเวลาตั้งแต่วันรุ่งขึ้นจากวันปิดคำบังคับ(ฎีกาที่ 5652/2540)
0 ความคิดเห็น