ประมวลกฎหมายอาญา

               มาตรา 157 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

คำอธิบาย

ส่วนที่หนึ่ง

               เป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด

               1. เป็นเจ้าพนักงาน หมายถึง เจ้าพนักงานตาม ป.อ. มาตรา 1 (16) ครอบคลุมถึงเจ้าพนักงานทุกประเภท เช่น เจ้าพนักงานตำรวจ เจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง นายอำเภอ กำนันผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น

                    ฎีกาที่ 18161/2557 การกระทำอันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 ผู้กระทำต้องเป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งหมายถึงผู้ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐที่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดิน หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐอื่นที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา หรือผู้ที่มีกฎหมายบัญญัติว่าหากได้รับแต่งตั้งจากผู้มีอำนาจหน้าที่ให้ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา

 

               2. ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

               2.1 “ปฏิบัติ” การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เช่น เจ้าพนักงานตำรวจแก้ไขบันทึกจับกุมจากให้การปฏิเสธเป็นให้การรับสารภาพ(ฎีกาที่ 1793/2536), จับโดยไม่มีหมายจับและไม่ใช่เหตุฉุกเฉินอย่างยิ่ง(ฎีกาที่ 706/2516)

               2.2 ละเว้นการปฏิบัติ การละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เช่น ตำรวจไม่จับกุมคนร้าย ผิดมาตรา 157(ฎีกาที่ 999/2527), พนักงานสอบสวนไม่รับแจ้งความร้องทุกข์ผิดมาตรา 157 และ 200(ฎีกาที่ 4436/2531, 7630/2549)

               2.3 “หน้าที่” เพียงแต่มีหน้าที่โดยทั่วไปก็ผิดตามมาตรา 157 ได้(ฎีกาที่ 5575-5582/2554)

                    หน้าที่ของเจ้าพนักงาน อาจเป็นหน้าที่โดยตรงตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรือหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย(ฎีกาที่ 3215/2538, 1033/2533)

               ถ้าเป็นการกระทำที่ได้พ้นไปจากกการทำหน้าที่โดยชอบไปแล้ว ไม่ผิด(ฎีกาที่ 294/2525) จำเลยถูกสั่งมิให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการไปก่อนแล้ว ไม่ผิด(ฎีกาที่ 2255/2520) ไม่ใช่หน้าที่ของตน ไม่ผิด(ฎีกาที่ 7737/2552)

               คำสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ต้องเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อเป็นคำสั่งผู้ที่ไม่ใช่ผู้บังคับบัญชามอบหมายให้จำเลยปฏิบัติหน้าที่เป็นคำสั่งที่ไม่มีอำนาจจำเลยจึงไม่เป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ในการนั้น(ฎีกาที่ 3680/2531)

               2.4 โดยมิชอบ

 

                3. เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด

               4. เจตนา

ส่วนที่สอง

               องค์ประกอบ  1.เป็นเจ้าพนักงาน  2. ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ 3. โดยทุจริต 4.เจตนา