ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 1 ในประมวลกฎหมายนี้
ถ้าข้อความมิได้แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
(3) “คำฟ้อง” หมายความว่า
กระบวนพิจารณาใด ๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาลไม่ว่าจะได้เสนอด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือ
ไม่ว่าจะได้เสนอต่อศาลชั้นต้น หรือชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา
ไม่ว่าจะได้เสนอในขณะที่เริ่มคดีโดยคำฟ้องหรือคำร้องขอหรือเสนอในภายหลังโดยคำฟ้องเพิ่มเติมหรือแก้ไข
หรือฟ้องแย้งหรือโดยสอดเข้ามาในคดีไม่ว่าด้วยสมัครใจ หรือถูกบังคับ หรือโดยมีคำขอให้พิจารณาใหม่
หมายเหตุ
1.คำฟ้องเป็นการที่โจทก์เสนอข้อหาต่อศาล
หมายถึง
การกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นกล่าวหาจำเลยว่าได้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง
อันเป็นการโต้แย้สิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายแพ่งและขอบังคับให้จำเลยกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งที่โจทก์มีสิทธิบังคับได้
2.คำฟ้องในขณะเริ่มต้นคดี
2.1 คำฟ้องคดีมีข้อพิพาท
2.2
คำร้องขอคดีไม่มีข้อพิพาท ตามมาตรา 188(1)
เช่น คดีร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
3.คำฟ้องที่เสนอภายหลังหรือระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น
3.1
คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง ตามมาตรา 179 และมาตรา 180
3.2
ฟ้องแย้ง
คือคำฟ้องที่เกิดจากจำเลยทำคำให้การและเสนอข้อหาให้บังคับโจทก์มาในคำให้การในเรื่องเกี่ยวกับฟ้องเดิมตามมาตรา
177 วรรคสาม
3.3
คำร้องสอด
4.คำฟ้องที่เสนอต่อศาลชั้นต้นภายหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดี
4.1
คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ ตามมาตรา 207
4.2
คำฟ้องอุทธรณ์ คำฟ้องฎีกา
4.3
คำร้องขัดทรัพย์ ตามมาตรา 323
4.4
คำร้องขอรับชำระหนี้ก่อน ตามมาตรา 324
4.5
คำร้องสอดในชั้นบังคับคดี
4.5.1
เมื่อการบังคับคดีมีผลทำให้บุคคลภายนอกเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่
บุคคลภายนอกชอบที่จะร้องเข้ามาในชั้นบังคับคดีได้ตามมาตรา 57 (1)
โดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่หรือรอให้มีการบังคับคดีเสียก่อน(ฎีกาที่ 3776/2534
(ประชุมใหญ่), 1031/2537 และ 2591/2554)
อ้างอิง
สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา. รวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 3.
0 ความคิดเห็น