ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 28 ผู้ใดต้องโทษปรับ
ผู้นั้นจะต้องชำระเงินตามจำนวนที่กำหนดไว้ในคำพิพากษาต่อศาล
มาตรา 29
ผู้ใดต้องโทษปรับและไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลพิพากษา
ผู้นั้นจะต้องถูกยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินเพื่อใช้ค่าปรับหรือมิฉะนั้นจะต้องถูกกักขังแทนค่าปรับ
แต่ถ้าศาลเห็นเหตุอันควรสงสัยว่าผู้นั้นจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าปรับ
ศาลจะสั่งเรียกประกันหรือจะสั่งให้กักขังผู้นั้นแทนค่าปรับไปพลางก่อนก็ได้
ความในวรรคสองของมาตรา
24 มิให้นำมาใช้บังคับแก่การกักขังแทนค่าปรับ
มาตรา 29/1
ในกรณีที่ผู้ต้องโทษปรับไม่ชำระค่าปรับภายในกำหนดเวลาตามมาตรา
29 วรรคหนึ่ง
ให้ศาลมีอำนาจออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของผู้นั้นเพื่อใช้ค่าปรับ
การบังคับคดีตามวรรคหนึ่ง
ให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม
โดยให้เจ้าพนักงานศาลที่ได้รับแต่งตั้งและพนักงานอัยการเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการบังคับคดีและให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจหน้าที่ยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของผู้ต้องโทษปรับและขายทอดตลาดตามที่ได้รับแจ้งจากศาลหรือพนักงานอัยการ ทั้งนี้
มิให้หน่วยงานของรัฐเรียกค่าฤชาธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายจากผู้ดำเนินการบังคับคดี
การตรวจสอบหาทรัพย์สินของผู้ต้องโทษปรับโดยพนักงานอัยการเพื่อการบังคับคดีตามวรรคสอง
ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในข้อบังคับของอัยการสูงสุด
บทบัญญัติมาตรานี้ไม่กระทบต่อการที่ศาลจะมีคำสั่งตามมาตรา
29 วรรคหนึ่ง
หมายเหตุ
ฎีกาที่ 3287/2534
จำเลยต้องคำพิพากษาศาลฎีกาให้ลงโทษปรับ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยชำระค่าปรับภายใน 30 วัน
แต่เนื่องจากค่าปรับมีจำนวนสูงมากกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่าจำเลยจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าปรับ
จึงให้กักขังจำเลยแทนค่าปรับไปพลางก่อน ดังนี้
เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นใช้มาตรการกักขังแทนค่าปรับไปพลางก่อนเพื่อให้จำเลยนำเงินมาชำระค่าปรับ
มิใช่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นให้กักขังจำเลยแทนค่าปรับเสียทีเดียว
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้กักขังจำเลยจนครบกำหนด 30 วันแล้ว
จำเลยก็ยังไม่ชำระค่าปรับเช่นนี้แสดงว่าจำเลยฝ่าฝืนไม่ชำระค่าปรับ
ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งให้ยึดทรัพย์สินของจำเลยเพื่อใช้ค่าปรับได้ไม่เป็นการผิดเจตนารมย์ของประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 29
ฎีกาที่ 4535/2562 ตาม
ป.อ. มาตรา 29 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ผู้ใดต้องโทษปรับและไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลพิพากษา
ผู้นั้นจะต้องถูกยึดทรัพย์สินหรืออายัด
สิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินเพื่อใช้ค่าปรับหรือมิฉะนั้นจะต้องถูกกักขังแทนค่าปรับ
แต่ถ้าศาลเห็นเหตุอันควรสงสัยว่าผู้นั้นจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าปรับ ศาลจะสั่งเรียกประกัน
หรือจะสั่งให้กักขังผู้นั้นแทนค่าปรับไปพลางก่อนก็ได้” ดังนี้
เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลพิพากษาศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจบังคับเอาค่า
ปรับจากจำเลยที่ 2 โดยวิธียึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของจำเลยที่
2 ได้อยู่แล้ว ส่วนกรณีที่ศาลชั้นต้นกักขังจำเลยที่ 2
แทนค่าปรับด้วยนั้นก็เป็นกรณีที่ ศาลเห็นเหตุอันควรสงสัยว่าจำเลยที่
2 จะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าปรับ
จึงให้กักขังแทนค่าปรับไปพลางก่อนซึ่งย่อมมีอานาจกระทำได้อีกเช่นกัน ทั้งนี้
โดยการยึดทรัพย์สินหรือ อายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของผู้ต้องโทษปรับดังเช่นจำเลยที่
2 นี้ ป.อ. มาตรา 29/1 บัญญัติถึงวิธีการในการบังคับคดีดังกล่าวรวมทั้งการตรวจสอบหาทรัพย์สินของผู้
ต้องโทษปรับไว้ในวรรคหนึ่งถึงวรรคสามและโดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรา 29/1 วรรคสี่ ก็บัญญัติไว้ชัดเจนว่า “บทบัญญัติมาตรานี้ไม่กระทบต่อการที่ศาลจะมีคำสั่งตามมาตรา
29 วรรคหนึ่ง” จึงเห็นได้ว่าศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจบังคับชำระค่าปรับทั้งโดยวิธีการยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของจำเลยที่
2 และอาจใช้วิธีสั่งกักขัง จำเลยที่ 2 แทนค่าปรับไปพลางก่อน
ตามมาตรา 29 วรรคหนึ่ง ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นไปด้วยกันได้
มิได้ถูกจำกัดว่าจะต้องใช้เพียงวิธีใดวิธีหนึ่งเพียงวิธีเดียวเท่านั้นแต่อย่าง ใด
ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งให้กักขังจำเลยที่ 2 แทนค่าปรับไว้แล้วก็ตาม
ศาลชั้นต้นก็ยังมีอานาจออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สิน
ของจำเลยที่ 2 เพื่อใช้ค่าปรับได้ตาม ป.อ. มาตรา 29 และ มาตรา 29/1 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้นำเงินที่จำเลยที่
2 วางประกันการปล่อยชั่วคราวจำนวน 200,000 บาท ชำระค่าปรับตามค่าพิพากษากับออกหมายบังคับคดียึดห้องชุดของจำเลยที่ 2
แม้อยู่ในระหว่างจำเลยที่ 2 ถูกกักขังแทนค่าปรับ
ก็เป็นการดำเนินการในการบังคับชำระค่าปรับโดยชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 2
ไม่มีสิทธิขอให้คืนเงินหรือปล่อยทรัพย์แต่อย่างใด
0 ความคิดเห็น