พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
มาตรา 5 ในพระราชบัญญัตินี้
“สัญญาจ้าง” หมายความว่า สัญญาไม่ว่าเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาระบุชัดเจน
หรือเป็นที่เข้าใจโดยปริยายซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าลูกจ้างตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกบุคคลหนึ่งเรียกว่านายจ้างและนายจ้างตกลงจะให้ค่าจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้
หมายเหตุ
ฎีกาที่ 1983/2564
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 บัญญัติว่า
“อันว่า จ้างแรงงานนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง
เรียกว่าลูกจ้างตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่านายจ้าง
และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้” และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. 2541 มาตรา 5 บัญญัติว่า “สัญญาจ้าง” หมายความว่า สัญญาไม่ว่าเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาระบุชัดเจนหรือเป็นที่เข้าใจโดย
ปริยายซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าลูกจ้างตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกบุคคลหนึ่งเรียกว่านายจ้างและนายจ้างตกลงจะให้ค่าจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้”
จากบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวไม่ได้บัญญัติว่าสัญญาจ้างแรงงานต้องทำเป็นหนังสือเท่านั้น
ดังนั้น
สัญญาจ้างงานย่อมเกิดขึ้นได้เมื่อมีการแสดงเจตนาทำคำเสนอคำสนองถูกต้องตรงกันโดยฝ่ายหนึ่งตกลงทำงานและอีกฝ่ายหนึ่งตกลงจ่ายสินจ้าง
หรือค่าตอบแทนการทำงานตลอดระยะเวลาที่ทำงานให้
0 ความคิดเห็น