ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1535
การหมั้นจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว
การหมั้นที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติวรรคหนึ่งเป็นโมฆะ
มาตรา 1436 ผู้เยาว์จะทำการหมั้นได้ต้องได้รับความยินยอมของบุคคลดังต่อไปนี้
(1) บิดาและมารดา ในกรณีที่มีทั้งบิดามารดา
(2) บิดาหรือมารดา
ในกรณีที่มารดาหรือบิดาตายหรือถูกถอนอำนาจปกครองหรือไม่อยู่ในสภาพหรือฐานะที่อาจให้ความยินยอม
หรือโดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมจากมารดาหรือบิดาได้
(3) ผู้รับบุตรบุญธรรม
ในกรณีที่ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม
(4) ผู้ปกครอง
ในกรณีที่ไม่มีบุคคลซึ่งอาจให้ความยินยอมตาม (1) (2) และ (3)
หรือมีแต่บุคคลดังกล่าวถูกถอนอำนาจปกครอง
การหมั้นที่ผู้เยาว์ทำโดยปราศจากความยินยอมดังกล่าวเป็นโมฆียะ
หมายเหตุ
1.อายุของคู่หมั้น(มาตรา
1435)
อายุของคู่หมั้นชายและหญิงต้องมีอายุอย่างต่ำ
17 ปี การหมั้นที่ฝ่าฝืนเป็นโมฆะตามมาตรา 1435
วรรคสอง มีผลทำให้สัญญาหมั้นเสียเปล่าตามมาตรา 172
เงื่อนไขอายุของคู่หมั้น
หากชายและหญิงคนใดคนหนึ่งมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว แต่อีกคนหนึ่งมีอายุต่ำกว่า 17
ปี ก็หมั้นไม่ได้
ชายและหญิง
มีอายุต่ำกว่า 17 ปี จะขออนุญาตศาลทำการหมั้นไม่ได้ เพราะไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้
ฎีกาที่ 1117/2535
การหมั้นกันตามประเพณีและมอบทรัพย์สินให้แก่กันในขณะที่หญิงอายุยังไม่ครบ 17
ปีบริบูรณ์ ฝ่ายชายหามีสิทธิเรียกคืนไม่
2.ความยินยอมของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง
แบบพิธีการให้ความยินยอม
จะด้วยวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้
คำว่า “บิดา” หมายถึง
บิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย
มารดาหรือบิดาไม่อยู่ในสภาพหรือฐานะที่อาจให้ความยินยอม เช่น เป็นบุคคลวิกลจริต
ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ เจ็บป่วยเข้าขั้นโคม่า
เป็นต้น
โดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมจากมารดาหรือบิดาได้
( มาตรา 1436 (2) ) เช่น
มารดาหรือบิดาได้หายไปจากถิ่นที่อยู่โดยไม่มีใครทราบว่าไปอยู่ ณ ที่แห่งใด เป็นต้น
3.การหมั้นของผู้เยาว์โดยปราศจากความยินยอมเป็นโมฆียะ
ผู้ใดมีสิทธิบอกล้างการหมั้นได้ตามมาตรา
175 (1) คือ
3.1
ตัวผู้เยาว์ผู้ทำการหมั้นเอง
3.2 บิดามารดา
3.3
ผู้รับบุตรบุญธรรม
3.4 ผู้ปกครอง
อ้างอิง
สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา. รวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 2.
0 ความคิดเห็น