ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 84/1 คู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนคำคู่ความของตน
ให้คู่ความฝ่ายนั้นมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงนั้น
แต่ถ้ามีข้อสันนิษฐานไว้ในกฎหมายหรือมีข้อสันนิษฐานที่ควรจะเป็นซึ่งปรากฏจากสภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใด
คู่ความฝ่ายนั้นต้องพิสูจน์เพียงว่าตนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งการที่ตนจะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานนั้นครบถ้วนแล้ว
หมายเหตุ
คู่ความมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเท่านั้น
ฎีกาที่ 295/2516 กฎมหาเถรสมาคมไม่ใช่กฎหมาย
เมื่อคดีมีประเด็นโต้เถียงกัน ย่อมเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่คู่ความจะต้องนำสืบว่ากฎมหาเถรสมาคมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมีอยู่อย่างไร
1. ข้อสันนิษฐานในกฎหมาย
1.1 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
1.1.1 มาตรา 437
1.1.2 มาตรา 1367, 1369, 1370, 1372
1.1.3 มาตรา 1373
1.1.4 มาตรา 1357
1.1.5 มาตรา 6
1.1.6 มาตรา 1474 วรรคสอง
1.1.7 มาตรา 877 วรรคสอง
1.1.8 มาตรา 327
1.1.9 มาตรา 900
1.2 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
1.2.1 มาตรา 127
1.3 พ.ร.บ.รถยนต์
2.ข้อสันนิษฐานที่ควรจะเป็นซึ่งปรากฏจากสภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์
เช่น ฎีกาที่ 1320/2559 เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าต้นเพลิงเกิดจากบ้านของจำเลยแล้วไฟไหม้ลุกลามไปไหม้บ้านของโจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงได้รับประโยชน์จากข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1 โดยกรณีนี้ศาลฎีกาเห็นว่า การที่ต้นเพลิงเกิดจากบ้านของจำเลยแล้วไฟไหม้ลุกลามไปไหม้บ้านของโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดชอบเพราะถือว่าเป็นข้อสันนิษฐานที่ควรจะเป็นซึ่งปรากฏจากสภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์เป็นคุณแก่โจทก์ จำเลยมีหน้าที่ต้องพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว
0 ความคิดเห็น