ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

               มาตรา 1381  บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินอยู่ในฐานะเป็นผู้แทนผู้ครอบครอง บุคคลนั้นจะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือได้ ก็แต่โดยบอกกล่าวไปยังผู้ครอบครองว่าไม่เจตนาจะยึดถือทรัพย์สินแทนผู้ครอบครองต่อไป หรือตนเองเป็นผู้ครอบครองโดยสุจริต อาศัยอำนาจใหม่อันได้จากบุคคลภายนอก

 

หมายเหตุ

1.         ผู้แทนผู้ครอบครองหรือผู้ครอบครองแทน; ผู้จัดการมรดก(ฎีกาที่ 1323/2566), ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น(ฎีกาที่ 787/2524), ผู้เช่าผู้เช่าครอบครองทรัพย์สินที่เช่าแทนผู้ให้เช่า(ฎีกาที่ 2974-2975/2552), ผู้อาศัย; จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทโดย จ. และเจ้าของรวมคนอื่นให้จำเลยอยู่อาศัย เป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนเจ้าของ จำเลยจะครอบครองที่ดินพิพาทนานเพียงใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน(ฎีกาที่ 6025/2551), พ. ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาทโดยขออาศัยสิทธิของ ส. จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทสืบต่อจาก พ. จึงตกอยู่ในฐานะเป็นผู้อาศัยเช่นเดียวกับ พ.(ฎีกาที่ 7721/2550), เจ้าของรวม; เจ้าของรวมคนหนึ่งครอบครองทรัพย์สิน ถือว่าครอบครองแทนเจ้าของรวมคนอื่นด้วย(ฎีกาที่ 822/2499, 259/2506), สัญญาจะซื้อจะขาย; ครอบครองในฐานะผู้จะซื้อที่ดินถือว่าครอบครองแทนผู้จะขาย จนกว่าจะมีการจดทะเบียนการซื้อขาย(ฎีกาที่ 4952/2528, 4567/2528), ตัวแทน; ตัวแทนครอบครองทรัพย์สินของตัวการแทนตัวการ(ฎีกาที่ 968/2493), บิดามารดากับบุตร; บิดามารดาครอบครองทรัพย์สินของผู้เยาว์แทนบุตรผู้เยาว์(ฎีกาที่ 1956/2522), ผู้ได้รับอนุญาตจากเจ้าของที่ดิน; การอนุญาตให้ทำกิน ถือว่าผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ทำกินครอบครองที่ดินแทนเจ้าของ(ฎีกาที่ 1579/2514), ผู้ให้กู้; การที่ผู้กู้มอบที่ดินให้ผู้ให้กู้ไว้เป็นประกันหรือทำกินต่างดอกเบี้ย ถือว่าผู้ให้กู้ ครอบครองที่ดินนั้นแทนผู้กู้(ฎีกาที่ 290/2526) แต่ถ้าสัญญากู้ระบุว่า ถ้าไม่ชำระหนี้ให้ที่ดินตกเป็นสิทธิแก่ผู้ให้กู้; สัญญามีความว่า ถ้าไม่ชำระเงินกู้ตามสัญญา ที่นาที่ประกันนี้ให้เป็นสิทธิแก่เจ้าหนี้นั้น แสดงให้เห็นความประสงค์ของคู่สัญญาแจ้งชัดว่า เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามที่ตกลงกันไว้ ให้ที่นาเป็นสิทธิแก่เจ้าหนี้ อีกนัยหนึ่งคือลูกหนี้ได้สละสิทธิการครอบครองตั้งแต่วันพ้นกำหนดแล้ว เจ้าหนี้จึงไม่ตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ยึดถือทรัพย์สินแทนผู้ครอบครอง(ลูกหนี้) ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1381 เมื่อเจ้าหนี้ครอบครองต่อมาจึงเป็นการครอบครองเพื่อตน(ฎีกาที่ 1208/2491), ทำสัญญาซื้อขายที่ดินของผู้เยาว์; ทำสัญญาซื้อขายที่ดินของผู้เยาว์กันเอง ผู้ซื้อเข้าครอบครองถือเป็นการครอบครองแทนผู้เยาว์(ฎีกาที่ 7776/2551), ครอบครองโดยอาศัยสิทธิของผู้เช่า;  หลังจากจำเลยซื้อโรงงานแต่งแร่จากบริษัท ฟ. แล้ว จำเลยได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในระหว่างกำหนดเวลาตามสัญญาเช่าที่ดินที่บริษัท ฟ. ทำไว้กับโจทก์ หลังจากนั้นบริษัท ฟ. ยังคงชำระค่าเช่าให้แก่โจทก์ต่อมา การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยจึงเป็นการอาศัยสิทธิของบริษัท ฟ. ถือได้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ด้วย(ฎีกาที่ 8486/2553) อาศัยสิทธิ; จำเลยมีหนังสือขอซื้อที่ดินไปยังบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ค. พฤติการณ์ของจำเลยจึงเท่ากับเป็นการยอมรับว่าบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ค. เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ดังนั้น การอยู่ในที่ดินพิพาทของจำเลย จึงมีลักษณะเป็นการอยู่โดยอาศัยสิทธิของผู้อื่น(ฎีกาที่ 3016/2547), ที่ดินมีข้อกำหนดห้ามโอน; นับแต่โจทก์และจำเลยที่ 1 ซื้อขายที่ดินพิพาทกันตั้งแต่ปี 2530 จำเลยที่ 1 ได้ครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาจนปัจจุบัน แม้จะถือว่าในระหว่างระยะเวลาที่มีข้อกำหนดห้ามโอน จำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ก็ตาม แต่ในปี 2533 ซึ่งเป็นระยะเวลาพ้นกำหนดห้ามโอนตามกฎหมายแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ฟ้องต่อศาลขอให้บังคับโจทก์โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทโดยบอกกล่าวแสดงเจตนาไปยังโจทก์ว่าจะไม่ยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์อีกต่อไป อันเป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์นับตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ยื่นฟ้องดังกล่าว(ฎีกาที่ 3307/2543) 

2.         กรณีถือว่า เป็นการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ; ผู้ครอบครองที่ดินของผู้อื่นอาจบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือว่าจะไม่ยึดถือทรัพย์สินแทน โดยจะเอาทรัพย์สินเป็นของตนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1381 ก็ได้ การบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือเช่นนี้ถือเป็นการแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 ได้เช่นเดียวกัน โดยไม่จำเป็นต้องเข้ายื้อแย่ง(ฎีกาที่ 7674/2540), คัดค้านการรังวัดแบ่งแยกที่ดิน; เมื่อฝ่ายผู้คัดค้าน(เจ้าของที่ดิน)นำเจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดสอบเขตเพื่อแบ่งแยก ผู้ร้องจึงไปคัดค้านเมื่อปี 2556 ซึ่งพอถือได้ว่าผู้ร้องได้แสดงเจตนาเปลี่ยนแปลงการยึดถือที่ดินพิพาทนั้นแล้ว(ฎีกาที่ 3243/2560), คัดค้านการขอออกโฉนดที่ดิน; ยื่นคำคัดค้านการออกโฉนดที่ดินของเจ้าของที่ดิน(ฎีกาที่ 3656/2551), คัดค้านการรังวัดที่ดิน;  ขัดขวางการรังวัดที่ดินของเจ้าพนักงานที่ดินและคัดค้านถึง 2 คราว ว่าเป็นที่ดินของตนเอง(ฎีกาที่ 2500/2524), คัดค้านการรังวัดสอบเขตที่ดิน; คัดค้านการไปยื่นคำขอรังวัดสอบเขตที่ดิน(ฎีกาที่ 337/2564), อ้างว่าขายที่ดิน; ครอบครองที่ดิน ทำกินต่างดอกเบี้ย แต่กลับอ้างว่าขายขาดแล้ว(ฎีกาที่ 290/2522), ไม่จ่ายค่าเช่า;  ผู้เช่าไม่ยอมออกจากที่เช่า ไม่ยอมจ่ายค่าเช่าแล้วบอกผู้ให้เช่าไม่ให้มาเก็บค่าเช่าอีก(ฎีกาที่ 1623/2522), ไม่ยอมทำสัญญาเช่า;  บุตรของผู้เช่าไม่ยอมทำสัญญาเช่ากับเจ้าของที่ดิน(ฎีกาที่ 7454/2556),