ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 149
นิติกรรม หมายความว่า การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร
มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน
หรือระงับซึ่งสิทธิ
คำอธิบาย
ลักษณะของนิติกรรม
1.
เป็นการกระทำ
จะต้องเป็นการกระทำของบุคคล
อันเกิดจากคิด ตัดสินใจ และการแสดงเจตนา
โดยบุคคลนั้นจะต้องรู้สำนึกในสิ่งที่ตนกระทำ
2.
เป็นการะทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
3.
ต้องทำโดยสมัครใจ กล่าวคือ
จะต้องมิได้เกิดจากการถูกหลอกลวงหรือถูกกลฉ้อฉล ถูกบังคับหรือข่มขู่
หรือเพราความเข้าใจผิด
ฎีกาที่ 6397/2556
การทำพินัยกรรมคือการแสดงเจตนากำหนดการเพื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเองตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1646 และ 1647 แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า ขณะทำพินัยกรรม
ผู้ตายไม่รู้สึกตัว ไม่มีสติสัมปชัญญะ พูดจาไม่ได้ บังคับร่างกายของตนก็ไม่ได้ จึงไม่สามารถที่จะแสดงเจตนากำหนดการเพื่อตายได้ด้วยตนเอง
ข้อความใน พินัยกรรมจึงมิใช่เจตนาอันแท้จริงของผู้ตาย
แต่เป็นข้อความที่แสดงเจตนาของผู้แอบอ้างจัดทำขึ้นเอง จึงเป็นพินัยกรรมปลอม
ไม่มีผลบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายดัง
4.
ต้องการก่อให้เกิดผลในทางกฎหมาย
5.
มีผลผูกพันระหว่างบุคคล
6. ผล คือ
ความเคลื่อนไหวในสิทธิ ได้แก่
ก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ
อ้างอิง
ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์. คำอธิบายนิติกรรม-สัญญา.
พิมพ์ครั้งที่ 22. กรงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2561
0 ความคิดเห็น