ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 93 ผู้ใดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก
ถ้าและได้กระทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดที่จำแนกไว้ในอนุมาตราต่อไปนี้ซ้ำในอนุมาตราเดียวกันอีกในระหว่างที่ยังจะต้องรับโทษอยู่ก็ดี
ภายในเวลาสามปีนับแต่วันพ้นโทษก็ดี ถ้าความผิดครั้งแรกเป็นความผิดซึ่งศาลพิพากษาลงโทษจำคุกไม่น้อยกว่าหกเดือน
หากศาลจะพิพากษาลงโทษครั้งหลังถึงจำคุก
ก็ให้เพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้นั้นกึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดครั้งหลัง
(1) ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 107 ถึงมาตรา 135
(2) ความผิดต่อเจ้าพนักงาน
ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 136 ถึงมาตรา 146
(3) ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 147 ถึงมาตรา 166
(4) ความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรม
ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 167 ถึงมาตรา 192 และมาตรา 194
(5) ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม
ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 200 ถึงมาตรา 204
(6) ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน
ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 209 ถึงมาตรา 216
(7) ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน
ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 217 ถึงมาตรา 224 มาตรา 226 ถึงมาตรา 234 และมาตรา
236 ถึงมาตรา 238
(8) ความผิดเกี่ยวกับเงินตรา
ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 240 ถึงมาตรา 249 ความผิดเกี่ยวกับดวงตราแสตมป์และตั๋ว ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 250 ถึงมาตรา 261 และความผิดเกี่ยวกับเอกสาร
ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 264 ถึงมาตรา 269
(9) ความผิดเกี่ยวกับการค้า
ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 270 ถึงมาตรา 275
(10) ความผิดเกี่ยวกับเพศ
ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 276 ถึงมาตรา 285
(11) ความผิดต่อชีวิต
ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 288 ถึงมาตรา 290 และมาตรา 294 ความผิดต่อร่างกาย
ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 295 ถึงมาตรา 299 ความผิดฐานทำให้แท้งลูก ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 301 ถึงมาตรา 303 และความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก คนป่วย
เจ็บหรือคนชรา ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 306 ถึงมาตรา 308
(12) ความผิดต่อเสรีภาพ
ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 309 มาตรา 310 และมาตรา 312 ถึงมาตรา 320
(13) ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 334 ถึงมาตรา 365
หมายเหตุ
ฎีกาที่ 7790/2552
พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา
80 พรรษา พ.ศ.2550 มาตรา 4 บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีที่ความผิดต่างๆ
ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
โดยให้ถือว่าบุคคลนั้นไม่เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1
ต้องโทษและพ้นโทษในคดีอาญาที่เป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นนำมาเป็นเหตุเพิ่มโทษจำเลยที่
1 ไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ
จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 มิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้นๆ
ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
จึงมิอาจเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 93 (8) ได้ แม้คดีจะถึงที่สุดแล้วก็ตาม แต่การบังคับคดียังไม่เสร็จสิ้น
เพื่อให้การบังคับคดีเป็นไปโดยถูกต้องตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
กรณีมีเหตุที่จะไม่เพิ่มโทษและกำหนดโทษจำเลยที่ 1 ใหม่
อ่าน ป.อ.มาตรา 92
0 ความคิดเห็น