ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 226
บุคคลผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้
ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่โดยมูลหนี้
รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นได้ในนามของตนเอง
ช่วงทรัพย์
ได้แก่เอาทรัพย์สินอันหนึ่งเข้าแทนที่ทรัพย์สินอีกอันหนึ่ง
ในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกันกับทรัพย์สินอันก่อน
หมายเหตุ
1.
ผู้รับช่วงสิทธิชอบที่จะที่ใช้สิทธิทั้งหลายได้ในนามตนเอง(มาตรา
226 วรรคหนึ่ง); ระบุชื่อตนเองเป็นโจทก์ โดยไม่ต้องมีใบมอบอำนาจ
และผู้รับช่วงสิทธิต้องเป็นบุคคลภายนอกที่มิใช่เจ้าหนี้ที่ตนอ้างว่ารับช่วงมา(ฎีกาที่
6277/2550),
2.
รับช่วงสิทธิเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายและจำกัดเฉพาะกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้; มาตรา 227, 229 (1) (2) (3), 230, 296,
426 และมาตรา 880 เป็นต้น, การรับช่วงสิทธิจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยอำนาจของกฎหมาย
จึงต้องเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้รับช่วงสิทธิได้; การที่โจทก์จ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลซึ่งเป็นเงินทดแทนแก่ลูกจ้างตามกฎหมายแรงงานอันเป็นกฎหมายพิเศษซึ่งใช้บังคับระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างกรณีที่ลูกจ้างประสบอันตรายถึงแก่ความตายอันเนื่องมาจากการทำงานให้แก่นายจ้างโดยเฉพาะ
มิใช่การจ่ายค่าสินไหมทดแทนความเสียหายและกฎหมายก็ไม่ได้บัญญัติให้สิทธิแก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างเรียกเอาเงินทดแทนที่จ่ายไปนั้นคืนจากผู้ทำละเมิดต่อลูกจ้างโจทก์ได้แต่อย่างใด
ดังนั้น
โจทก์จึงไม่อาจอ้างการรับช่วงสิทธิมาฟ้องเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลที่โจทก์จ่ายไปคืนจากจำเลยที่
7 ได้(ฎีกาที่ 7630/2554),
3.
การรับช่วงสิทธิมาไม่ต้องทำสัญญากันใหม่
เพียงแต่ส่งมอบอหลักฐานหรือทรัพย์ที่เป็นประกันที่ครอบครองอยู่ให้แก่ผู้รับช่วงสิทธิ(ฎีกาที่
1067/2524, 2446/2525)
4.
การรับช่วงสิทธิเป็นการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้
5.
การช่วงทรัพย์มีได้เฉพาะกรณีตามมาตรา
228 และ 231 เท่านั้น
0 ความคิดเห็น