คำว่า “ใส่ความ” ในความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326
1. ใส่ความ หมายถึง
พูดหรือเขียน; ตำราของ ศ.จิตติ การใส่ความคือเอาความไปใส่เขา
แม้ความที่กล่าวนั้นจะเป็นเรื่องจริง
2. การใส่ความ
จะต้องเป็นการยืนยันข้อเท็จจริง; ผู้กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้น กระทำโดยใส่ความ
คือบอกกล่าวพฤติการณ์อันเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นแล้วหรือกำลังเกิดขึ้นอยู่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริง
ไม่ว่าจะเป็นความจริงหรือเท็จก็ตาม
เป็นการกระทำหาเหตุร้ายหรือกล่าวหาเรื่องร้ายผู้อื่นต่อบุคคลที่สามให้ได้รับความเสียหาย(ฎีกาที่ 3057/2560)
3. การพิจารณาข้อความที่เป็นหมิ่นประมาท; ข้อความที่จำเลยกล่าวจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่
ต้องพิจารณาถึงความรู้สึกของวิญญูชนทั่ว ๆ ไปเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าข้อความที่กล่าวนั้นถึงขั้นที่ทำให้ผู้ถูกหมิ่นประมาทน่าจะเสียชื่อเสียง
บุคคลอื่นดูหมิ่น เกลียดชังหรือไม่
มิใช่พิจารณาตามความรู้สึกของผู้ถูกหมิ่นประมาทแต่ฝ่ายเดียว(ฎีกาที่ 2777/2545)
0 ความคิดเห็น